การเกษตร

การเกษตร                                        1.  ความหมายของการเกษตร

การเกษตร หรือการเกษตรกรรม (Agriculture) หมายถึงการเพราะปลูกพืชต่างๆ รวมทั้งการเลี้ยงสัตว์และการประมง ผู้ที่ทำการเกษตรนั้นเรียกว่า เกษตรกร ส่วนคำว่า กสิกร นั้นหมายถึงผู้ที่ทำการกสิกรรม คือผู้ที่ปลูกพืชเพียงอย่างเดียว เช่น ชาวไร่ ชาวนา ชาวสวนการเกษตรจึงเป็นการจัดการกับทรัพยากรธรรมชาติ แรงงาน และทุน โดยอาศัยความรู้และประสบการณ์ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลผลิตจากทั้งพืชและสัตว์ ซึ่งเรานิยมเรียกว่าผลผลิตทางการเกษตร
การเกษตรยังหมายถึง วิธีการยังชีพอย่างหนึ่งของมนุษย์ เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ การเกษตรเป็นการทำงานเพื่อควบคุมธรรมชาติในอันที่จะผลิตพืชและสัตว์ให้ได้ตามความต้องการของมนุษย์ โดยอาศัยการเจริญเติบโตของพืชและสัตว์เป็นพื้นฐาน มีมนุษย์เป็นผู้ควบคุมดำเนินการอย่างมีระบบแบบแผน มีการวางแผนปฏิบัติงานล่วงหน้า คิดคำนวณรายได้-รายจ่ายในการดำเนินการทั้งหมดในการเกษตร พืช หมายถึง พืชสวน พืชไร่ ป่าไม้ สัตว์ หมายถึง สัตว์บก สัตว์น้ำ ทั้งที่เป็นสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่า ดังนั้น การเกษตรจึงมีขอบเขตครอบคลุมการปลูกพืช การเลี้ยงสัตว์ และการประมงนอกจากนี้ยังรวมไปถึงการสร้างเสริมบรรยากาศ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยได้ตื่นตัวเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง เพราะทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะป่าไม้ถูกทำลายลงอย่างมหาศาล และขาดการดูแลบำรุงรักษาป่าไม้อย่างต่อเนื่อง จนเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดน้ำท่วม ฝนแล้ง และไฟไหม้ป่าทุกปี
ในปี 2556 การเพาะปลูกพืชที่สำคัญของประเทศไทย ได้แก่
          กลุ่มพืชไร่
                   1.  ข้าว
                   2.  ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
                   3.  ถั่วเหลือง
          กลุ่มพืชพลังงานทดแทน
                   4.  มันสำปะหลัง
                   5.  อ้อยโรงงาน
                   6.  ปาล์มน้ำมัน
          กลุ่มพืชสวน
                   7.  ยางพารา
                   8.  กาแฟ
                   9.  สับปะรด
                   10.  ลำไย
                   11.  ทุเรียน
                   12.  มังคุด
                   13.  มันฝรั่ง
                   14.  กล้วยไม้
การปศุสัตว์และประมงที่สำคัญของประเทศไทย ได้แก่
          กลุ่มปศุสัตว์และประมง
                   15.  ไก่เนื้อ
                   16.  ไข่ไก่
                   17.  สุกร
                   18.  โคเนื้อ
                   19.  โคนม
                   20.  กุ้ง
                   21.  ปลาป่น                                                                                                                              Image result for เกษตร         2. ความสำคัญของการเกษตร
          การเกษตรมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ โดยมนุษย์รู้จักใช้ประโยชน์อย่างหลากหลายจากพืช สัตว์ ในชีวิตประจำวัน โดยใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตปัจจัย 4 คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัยและยารักษาโรค โดยมนุษย์รู้จักเก็บเกี่ยวผลผลิตทางเกษตร นำไปประกอบอาหารรับประทาน สร้างความเจริญเติบโตแก่ร่างกาย นำส่วนต่าง ๆ ของพืชเส้นใยไปผลิตสิ่งทอหรือใช้หนังสัตว์ทำเครื่องนุ่งห่ม ปลูกป่าเพื่อนำไม้ไปเป็นอุปกรณ์การก่อสร้าง สร้างที่พักอาศัย อาคารสถานที่ ทำเฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ต่าง ๆ และปลูกพืชสมุนไพร เพื่อนำไปใช้เป็นยารักษาโรค ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนมีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ทั้งสิ้นการเกษตรยังมีความสำคัญทางด้านอ
3.  ประโยชน์ของการเกษตร
          ประโยชน์ของการเกษตรที่สำคัญ มีดังนี้
1)  เป็นอาชีพเสริมอาชีพหลัก คือการทำการเกษตรเป็นอาชีพที่เสริมอาชีพอื่นที่ทำเป็นงานหลักอยู่แล้ว เช่น เลี้ยงสุกร 5 - 10 ตัว ในขณะรับราชการครู
2)  เป็นอาชีพธุรกิจและบริการทางการเกษตร เช่นจำหน่ายไม้ดอกไม้ประดับ รับจัดสวนหย่อม จำหน่ายเครื่องมือทางการเกษตรจำหน่ายผลผลิตเกษตร
3)  เป็นอาชีพหลัก ได้แก่การทำการเกษตรเพื่อเป็นรายได้หลักของครอบครัว เช่นปลูกผัก เลี้ยงไก่ไข่ เลี้ยงกุ้ง ฯลฯ
นอกจากนี้การเกษตรกรรมยังมีบทบาทที่สำคัญ ต่อประเทศในหลายๆ ด้าน ได้แก่ด้านเศรษฐกิจด้านสังคม ด้านการเมืองการปกครองและด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
4.  ประโยชน์ของการเกษตรที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับนักเรียน
          1)  ช่วยเพิ่มพูนความรอบรู้ทางการศึกษาด้านการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ เป็นพื้นฐานที่จะประกอบอาชีพ หรือศึกษาต่อในระดับสูงต่อไป
          2)  ช่วยให้นักรเยนได้เห็นแนวทางการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งเป็นอาชีพที่สำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศ
          3)  ช่วยให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติงานด้านการเกษตร ซึ่งจะได้รับผลผลิตทางการเกษตรตามมา สามารถนำผลผลิตไปใช้บริโภคหรือจำหน่ายเป็นรายได้ระหว่างเรียนได้
          4)  ช่วยให้เกิดแนวคิด การดัดแปลง แก้ไข และการค้นพบสิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอ เช่น การขยายพันธุ์พืชโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน การใช้พืชสมุนไพรป้องกันกำจัดศัตรูพืช เทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตพืชและสัตว์ เป็นต้น     อ่างอิงจาก https://sites.google.com/site/kruorclass/feeding-habits

No comments:

Post a Comment